Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค คือ ๑) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย ๓) เพื่อสร้างรูปแบบ มาตรการ และวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงผสมผสาน โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๘๘ คน และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๒๘ คน
ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๕๖.๗๐ อายุ ๑๙-๒๕ ปี ร้อยละ ๓๔.๐๐ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ ๖๑.๙๐ มีรายได้ ๑,๕๐๑-๓,๐๐๐ บาท จำนวน ร้อยละ ๓๕.๑๐
๑. คุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสุขภาพกาย อยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพจิต อยู่ในระดับปานกลาง
ผู้พิการที่มีเพศ และรายได้ แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตโดยรวมและเป็นรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
ผู้พิการที่มีอายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตโดยรวมและเป็นรายด้าน ๓ ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนที่เหลือ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ไม่แตกต่างกัน
ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า คุณภาพชีวิตผู้พิการ สูงที่สุด คือด้านสัมพันธภาพทางสังคม รองลงมา คือ ด้านสุขภาพกาย การมีสวนร่วมในเครือข่ายผู้พิการ สัมพันธภาพในครอบครัว และ การบริการที่ได้รับจากภาครัฐ ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ มีผล ต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการ
๒. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการมีส่วนร่วมในเครือข่ายผู้พิการ และด้านเห็นคุณค่าในตัวเอง อยู่ในระดับมาก ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว และด้านการบริการที่ได้รับจากภาครัฐ อยู่ในระดับปานกลาง
ผู้พิการที่มีเพศ อายุ และรายได้ แตกต่างกัน มีความความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมและเป็นรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนที่เหลือ คือ ผู้พิการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย โดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้พิการ มากที่สุดคือการเห็นคุณคาในตนเอง รองลงมาคือ การมีสวนร่วมในเครือข่ายผู้พิการ สัมพันธภาพในครอบครัว การบริการที่ได้รับจากภาครัฐ เพศ อายุ และรายได้ ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่า ระดับการศึกษา ไม่มีผล ตอ คุณภาพชีวิตของผู้พิการ
๓. การสร้างรูปแบบ มาตรการ และวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือการสร้างรูปแบบมาตรการและวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการในสังคมไทยต้องอาศัยองค์ประกอบ ๕ ด้าน คือ ๑) สงเสริมผู้พิการใหเขาถึงสิทธิ สวัสดิการ และสิ่งอำนวยความสะดวกอัน เป็นสาธารณะอย่าง เทาเทียม ๒) เสริมสร้างความ เขมแข็งและความร่วมมือกับองคกรด้านผู้พิการและเครือข่าย ๓) บูรณาการและขับเคลื่อนนโยบายด้านผู้พิการสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ๔) พัฒนาศักยภาพและสร้าง เจตคติที่สร้างสรรคตอผู้พิการและความพิการ ๕) สนับสนุนและสงเสริมองค์กรพระพุทธศาสนาให้มีบทบาทในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ สังคมสิ่งแวดล้อม และจิตวิญญาณ แก่ผู้พิการ